พระพุทธรูปบูชา  เริ่มมีการสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก  เมื่อราว ๆ  พุทธศตวรรษที่ ๖  คือ  หลังพุทธกาล
ประมาณ  ๖๐๐ ปี  ได้กำเนิด ณ  แคว้นคาธารราฐ
  (คันธาระ)  ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน 
โดยฝีมือศิลปินช่างชาวกรีกโรมัน  ซึ่งมาอาศัยอยู่ตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์  แห่งมสิโดเนียได้ยก
พยุหยาตราทัพ  ไปตีประเทศอินเดียในครั้งโน้น


         ปฏิมากรรมที่กำเนิดขึ้นมาครั้งแรกนี้ เราจึงเรียกกันตามชื่อเมืองว่า ศิลปะอินเดีย แบบ คันธารราฐ

         และต่อมาอีกไม่นาน  ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๖  ศิลปะแบบมถุรา  ก็ได้มีการถือกำเนิดขึ้นมา 
ซึ่งเป็นฝีมือช่างชาวอินเดียโดยตรง
  ซึ่งศิลปะใกล้เคียงกันกับศิลปะแบบคันธารราฐมากที่สุด  เห็นได้จาก
ทรงผมที่ยังเกล้าเป็นมวยผม มีริ้วจีวนใหญ่  หน้าตาคล้ายรูปปั้นของมนุษย์มากที่สุด


         ศิลปะอินเดียได้มีวิวัฒนาการกันมาเรื่อย ๆ มีการพัฒนาศิลปกรรมโดยไม่หยุดยั้ง  ครั้งเมื่อถึงปลาย
พุทธศตวรรษที่  ๗  ก็ได้เกิดศิลปะอินเดีย แบบอมราวดี  ขึ้นมา  อมราวดี    เป็นสกุลช่างทางตอนใต้ของ
อินเดีย    สกุลช่างนี้อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์อันธระ    ซึ่งศิลปะแบบอมราวดี   นั้นจะมี
ลักษณะแตกต่าง   แยกออกจากศิลปะแบบคันธาราฐ และ ศิลปะแบบมถุรานั้น    มองเห็นได้อย่างชัดเจน 
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเม็ดพระศก  หรือ  ริ้วจีวร  เป็นต้น


        ครั้งเมื่อถึงพุทธศตวรรษที่  ๘  ศิลปะอินเดียอีกแบบหนึ่งก็ถือกำเนิดขึ้นมาอีก   เรียกว่า ศิลปะแบบ
คุปตะ 
ในสมัยคุปตะนี้ถือว่าเป็นสมัยที่งานด้านศิลปกรรมมีความรุ่งเรืองมาก  ไม่ว่าจะเป็นปราสาทราชวัง 
และปูชนียสถานต่าง ๆ  นิยมตบแต่ง ประดับประดาด้วยงานปฏิมากรรมทั้งสิ้น กษัตริย์แห่งคุปตะนั้นนับถือ
ศาสนาพราหมณ์  เท่า ๆ กับศาสนาพุทธ
  ศิลปะแบบคุปตะนี้ ยังได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบอมราวดี
ค่อนข้างมาก และพัฒนารูปแบบได้เลอเลิศงดงามเป็นที่สุด 
มีการสร้างสรรค์ปฏิมากรรมรูปแบบมากมาย 
มีทั้งปั้น  ทั้งแกะ  และหล่อจากสัมฤทธิ์    จนกระทั่งถึงปลายพุทธศตวรรษที่  ๑๑  ศิลปะแบบคุปตะ  ก็เริ่ม
ถูกกลืนไปเรื่อย ๆ ตามสภาพสภาวะ และตามระยะเวลา

         จนกระทั่งต้นพุทธศตวรรษที่  ๑๔  ก็ได้มีการกำเนิด ศิลปะแบบอินเดียขึ้นมาอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า 
ศิลปะแบบปาละ
    ซึ่งได้รับอิทธิพลมาแบบเต็ม ๆ จากศิลปะแบบคุปตะ    และมีความรุ่งเรืองไม่น้อยทาง
พุทธศาสนา    และทางด้านการสร้างปฏิมากรรมต่าง ๆ  เกี่ยวกับพระพุทธรูป     จนมาถึงราวปลาย
พุทธศตวรรษที่  ๑๗  ศิลปะแบบคุปตะ  และศิลปะแบบปาละ  ก็เสื่อมลงเรื่อย ๆ  จนถึงปลายพุทธศตวรรษ
ที่  ๒๔  ทั้งคุปตะและปาละ  ก็ถึงจุดเสื่อมสุด 
แต่กลับกัน  ทั้ง  ๒  ศิลปะนี้  คือ คุปตะ และปาละนั้นได้รับ
การยกย่อง    และมีอิทธิพลมาก    ในนอกอาณาจักรของตัวเอง      ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ 
มีความเจริญรุ่งเรืองสูง

          ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่   ๑๗-๑๘  นั้น     ศิลปะอินเดียได้หันมานิยมสร้างเทวรูปกันมาก
ประชาชนส่วนใหญ่หันมานับถือศาสนาพราหมณ์
  ทำให้พุทธศาสนานั้นเสื่อมลงเป็นอันมาก  เริ่มมีการ
แตกแยกกันทางศาสนา  มีระบบการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง  ยุคนี้แหละครับที่ทำให้ศิลปะอินเดียที่พัฒนา
กันเรื่อย ๆ มานาน ทรุดหนักที่สุด


          มาดูพระพุทธรูปของเมืองไทยกันบ้าง  พระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยเรา ก็คงไม่มี
พุทธรูปศิลปะใดเก่าเกิน  ศิลปะแบบทวารวดี  และศิลปะแบบศรีวิชัย เป็นแน่

          พระพุทธรูปศิลปะแบบทวารวดี   นั้นได้ถือกำเนิดครั้งแรกราว ๆ พุทธศตวรรษที่   ๑๑ เป็นต้นมา
จนถึง  พุทธศตวรรษที่   ๑๖  ดินแดนที่ถือกำเนิดนี้    เรียกกันว่า   ดินแดนสุวรรณภูมิ   ซึ่งมีอาณาจักร
ที่กว้างใหญ่มาก   และเชื่อว่าเมืองหลวงน่าจะอยู่ที่เมืองนครปฐม    เพราะพบหลักฐานทางปฏิมากรรม 
และโบราณวัตถุมากมายหลายอย่าง     จนเป็นที่ยอมรับว่า    สถานที่แห่งนี้เป็นจุดต้นกำเนิดจริงของ
พระพุทธรูปศิลปะแบบทวารวดี

          ศิลปะแบบทวารวดี  ในเมืองไทยนั้น   ได้กำเนิดขึ้นมาพร้อมๆ กันกับ    ศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ
ที่กำลังเจริญรุ่งเรืองสุด ๆ    และยังทำให้สามารถส่งผลแผ่อิทธิพลของศิลปะ    เข้ามาสู่อาณาจักรของ
ทวารวดีได้ค่อนข้างสูงมาก  ซึ่งที่มองเห็นได้ชัด  คือ  การมีศิลปะเป็นแบบของตัวเอง  เรียกง่าย ๆ ว่า
ศิลปะแบบบริสุทธิ์


          เช่น ทวารวดีนครปฐมยุคต้น  เป็นสกุลช่างอินเดีย  แบบคุปตะ  หน้าของพระพุทธรูปจะมีเค้าหน้า
แบบอินเดีย  คือ  มีลักษณะกลมเรียว ได้สัดส่วน  งดงามมาก

          ส่วนทวารวดียุคปลาย  ซึ่งพบทางภาคอีสาน  หรือภาคเหนือนั้น  ลักษณะของพระพักตร์องค์พระ 
ส่วนใหญ่จะต่างกับทวารวดี ยุคต้น ที่พบจากเมืองนครปฐม  พงตึก  หรือที่ดงสักชัดเจน  ซึ่งฝีมือช่าง
ทางเหนือ  หรือทางอีสาน    คงจะยึดเอาศิลปะบริสุทธิ์ของพื้นที่เอาไว้    ศิลปะก็เลยออกมาตามลักษณะ
ฝีมือช่างในพื้นที่นั้น ๆ

          ส่วนสมัยศรีวิชัย เชื่อกันว่า  กำเนิดขึ้นในราวๆ พุทธศตวรรษที่  ๑๓  ถึง  พุทธศตวรรษที่  ๑๗ 
เมืองศรีวิชัยอยู่ที่ไหน?  เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานาน  บ้างก็ว่าเมืองหลวงอยู่ที่ ปาเล็ม ในเกาะสุมาตรา 
บ้างก็ว่าอยู่ที่ภาคกลาง  เกาะชวา  บ้างก็ว่าอยู่แถบเหนือของแหลมมาลายู

          แต่ที่แน่ ๆ เลย     ศิลปะที่เรียกกันว่า  ยุคศรีวิชัย    นั้นได้พบกันหลายที่หลายแห่ง    พบทั้ง
สถาปัตยกรรม  ปฏิมากรรม  และพระพิมพ์ต่างๆ  พบทั้งที่เกาะชวา  ที่อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์
ธานี  นครศรีธรรมราช  นครปฐม  ลพบุรี  กำแพงเพชร  ศรีสัชนาลัย  หริภุญชัย และที่เชียงแสน  เป็นต้น

          ปฏิมากรรมแบบศรีวิชัย    ถือว่าเป็นศิลปะยุคหนึ่งที่มีความงดงามมาก    มีการถ่ายทอดศิลปะ 
และพัฒนาทางพุทธศิลป์ได้สมบูรณ์ที่สุดยุคหนึ่งเลยก็ว่าได้  ไม่ว่าจะเป็นศิลปกรรมในยุคหลัง คือ ลพบุรี 
เชียงแสน  สุโขทัย  หรือ  อู่ทอง  ซึ่งได้ถ่ายทอดศิลปะกันต่อ ๆ มา ก็ยังหาเทียบได้


          เห็นได้ว่า  ศิลปกรรมตั้งแต่กำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก  จนถึงยุคปัจจุบัน  มีการถ่ายทอดศิลปะของ
แต่ละยุคกันมาเรื่อย ๆ      ศิลปกรรมยุคใดที่มีความรุ่งเรืองมาก    ก็อาจจะอยู่ได้นาน ๆ สามารถขยาย
อิทธิพลได้กว้างไกลขึ้น


          ตรงกันข้ามหากศิลปะยุคไหน   ไม่มีการพัฒนาศิลปะของตัวเอง   ก็จะอยู่ได้ไม่นาน   เสื่อมเร็ว 
ถูกลืนไปเองในที่สุด  และจะมีศิลปะอื่นเข้ามาแทนที่ทันที




                                                                                                      นุ  เพชรรัตน์