วัดราชบูรณะ  จังหวัดอยุธยา    สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าบรมราชาธิราชที่  ๒   (พระเจ้าสามพระยา)
เมื่อปี   พุทธศักราช  ๑๙๗๖   ขณะที่ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยา   ขึ้นเป็นเมืองหลวง     ของอาณาจักรไทย 
โดยพระเจ้าอู่ทอง  เมื่อปีพุทธศักราช  ๑๘๙๓  จึงเห็นได้ว่าวัดราชบูรณะ   เป็นวัดที่ได้สร้างขึ้นในช่วงต้น ๆ 
ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา 


          มีเรื่องเล่ากันว่า  พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์หนึ่ง  ได้สวรรคตลง  พระองค์มีพระโอรสด้วยกัน 
๓  พระองค์
 และไม่ได้แต่งตั้งรัชทายาทไว้  จึงเป็นเหตุให้องค์พี่  ชื่อว่า  พระเจ้าอ้ายพระยาได้ยกทัพลงมา
จากพิษณุโลก  องค์รอง ชื่อว่า  พระเจ้ายี่พระยา  ได้ยกทัพมาจากเมืองสรรค์  ส่วนองค์เล็ก  ชื่อว่า  พระเจ้า
สามพระยา
   ซึ่งมาจากเมืองสุพรรณ   ทั้งสามมุ่งสู่กรุงศรีอยุธยา    เพื่อจัดพิธีพระบรมศพพระบิดา  และรับ
ราชสมบัติ   ระหว่างทางทัพของพระเจ้าสามพระยา   กับทัพของพระเจ้ายี่พระยามาพบกันก่อน   ที่สะพาน
ป่าถ่าน ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างความเหมาะสมในการขึ้นครองราชย์ จึงตัดสินกันด้วยการชนช้าง ทั้งสองพี่น้อง
สู้กันจนคมง้าวของทั้งสองฝ่ายได้พลาดตัดคอกระเด็นตกจากบ่า พร้อมกันทั้งสองพระองค์


          พระเจ้าสามพระยา  ซึ่งเป็นโอรสองค์เล็ก จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแทน และจัดงานพระบรมศพขึ้น
ในกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา  เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้คนไทยจดจำว่า  “เมื่อใดคนไทยขาดความสามัคคีฆ่าฟัน
กันเอง  เมื่อนั้นความวิปโยคก็เกิดขึ้น


          ในบริเวณที่เป็นเมรุมาศนั้น   พระเจ้าสามพระยาได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น    และสถาปนาขึ้นเป็น
วัดราชบูรณะ
  เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าพี่ทั้งสองพระองค์ที่ชนช้างกันจนสวรรคตพร้อมกัน

         ในราว ๆ   ปี พ.ศ.๒๕๐๐   พระเจดีย์ใหญ่ในวัดราชบูรณะ    ถูกคนร้ายแอบขุด   ได้ทรัพย์สินไปเป็น
จำนวนมาก   มีทั้งพระเครื่อง  พระบูชา  อัญมณี  แก้ว  แหวน  เงิน  ทอง  ศาตราวุธ
  ฯลฯ คนร้ายได้ออกมา
จำหน่ายในตลาดบางส่วนก็ถูกทางราชการจับได้ก็มี  เช่น  พระแสงดาบฝักทองคำประดับอัญมณี ที่คนร้าย
บางคนเอาออกมารำเล่นกลางตลาดในเมืองอยุธยา

         ต่อมากรมศิลปากร  ได้เข้ามาฟื้นฟูบูรณะพระเจดีย์ต่าง ๆ  ในวัดราชบูรณะ  และทำการเปิดกรุเพื่อนำ
เอาสมบัติของมีค่า   รวมทั้ง พระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ  ภายในขึ้นมา  เพื่อเก็บรักษา  ซึ่งปรากฎว่า   พระเครื่อง
ภายในกรุนั้นมีจำนวนมากเป็นร้อย ๆ พิมพ์   รวมเป็นแสน ๆ องค์
   แต่ละพิมพ์ล้วนงดงามอลังการ ด้วยฝีมือ
ช่างกรุงศรีอยุธยาในยุคต้น ๆ ที่ได้ล้อพิมพ์พระสำคัญของหัวเมืองต่าง ๆ มาได้อย่างแนบเนียนมาก

          พระกรุวัดราชบูรณะที่พบ  เป็นพระเนื้อชินเงินล้วน ๆ   มีทั้งชินที่เป็นผิวปรอท   และชินที่เป็นประเภท
สนิมตีนกา  พระเครื่องส่วนมากจะล้อศิลปของลพบุรี  และศิลปอู่ทองเป็นส่วนมาก


          ซึ่งภายหลังได้มีการจำหน่ายพระเครื่องออกมาบางส่วนเพื่อเป็นทุนสร้างพิพิธภัณฑ์ ในการเก็บรักษา
พระเครื่องที่เหลือ  รวมทั้งสมบัติ  และของมีค่าต่าง ๆ

         พระเครื่องของกรุวัดราชบูรณะ  มีอยู่ด้วยกันมากพิมพ์   ซึ่งพิมพ์ที่ได้รับความนิยมเอามาก ๆ จากนัก
สะสมพระเครื่องก็มีมากอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ยอดขุนพล พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์หูยาน พิมพ์ใบขนุน 
พิมพ์นาคปรก  พิมพ์อู่ทอง  และยอดธงทองคำ  เป็นต้น


         ในสมัยก่อน  พระพิมพ์ปรุหนัง กรุวัดราชบูรณะ หรือที่ขุดพบจากกรุอื่น ๆ  เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยม
สูงสุด  ปัจจุบัน  พระพิมพ์ยอดขุนพล พิมพ์ใหญ่ ของกรุนี้   ซึ่งได้ล้อศิลปลพบุรีมานั้น  กลายเป็นพิมพ์ได้รับ
ความนิยมสูงสุด   
องค์พระมีความงดงาม    อลังการสวยงามได้สัดส่วน    ในปัจจุบันถือว่า   เป็นพระเครื่อง
พิมพ์หนึ่งที่หาชมได้ยาก  และราคาค่อนข้างแพงมาก  คือ  หลักหมื่นขึ้นไป  จนถึงหลักแสนต้น

         พิมพ์ที่รองลงมา  ของกรุวัดราชบูรณะนี้  คือ  พระพิมพ์หูยาน  พิมพ์ใหญ่  หรือ  พิมพ์เล็ก  พระพิมพ์
หูยานนี้เป็นพระที่ล้อศิลปลพบุรีมาเต็ม ๆ เลย  ต่างกันที่พระหูยานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้น เกศจะเป็น
แบบฝาละมีครอบ   ส่วนพระหูยานของวัดราบูรณะนั้น  เกศจะเป็นเกลียววนรอบ
   ราคาก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน 
คือ  หลักหมื่นต้น ๆ ถึง หมื่นกลาง ๆ ยังมีพระคอยหมุนเวียนให้เช่าเก็บสะสมกันได้พอสมควร

          พระพิมพ์ปรุหนัง  เป็นพระพิมพ์ที่หาชมของแท้  ได้ค่อนข้างยากเอามาก ๆ   เป็นพระพิมพ์ที่มีของเก๊
ทำเลียนแบบกันมากมายเหลือเกิน   นาน ๆ  จะเจอแท้ ๆ สักองค์   ส่วนราคาก็ยังแพงอยู่เอาการ  คือ  อยู่ใน
หลักหมื่น  ส่วนองค์ที่คิดว่าสวยแชมป์ ล่ะก็  มีคนพร้อมที่จะจ่ายเป็นแสนเช่นกัน

          พระกรุวัดราชบูรณะนี้  ยังมีพระเครื่องที่มีขนาดบูชาอยู่องค์หนึ่ง  ชื่อว่า  พระใบขนุน  เป็นพระที่หล่อ
พิมพ์เอาไว้เป็นแผงจำนวนหลายสิบองค์
  ในหน้าเดีย เป็นพระเครื่องขนาดบูชา ที่ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน 
คือ  หลักหมื่นต้น ๆ  องค์ที่อยู่ในสภาพค่อนข้างสวยสมบูรณ์ 

          ส่วนพิมพ์อื่น ๆ   อีกหลายสิบพิมพ์นั้น   เช่น  พระพิมพ์โมคลาน์   พิมพ์อู่ทอง  พิมพ์อู่ทองฐานสำเภา
พิมพ์ร่มโพธิ์  พิมพ์ปรกโพธิ์เล็ก  พิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่   พิมพ์ซุ้มประภามณฑล  พิมพ์ซุ้มระฆัง  และพิมพ์ซุ้ม
เสมาทิศ  เป็นต้น  พระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ เหล่านี้  ส่วนใหญ่ราคาไม่ค่อยสูงนัก อยู่ในหลักพันเท่านั้น เพราะมี
วนเวียนในตลาดพระค่อนข้างมาก
  เว้นแต่องค์ที่มีความงดงามจริง ๆ  ผู้เช่าพอใจอาจจะจ่ายเป็นหมื่นก็ได้

          พระเครื่องกรุวัดราชบูรณะ  เป็นพระที่บางพิมพ์มีจำนวนมาก  บางพิมพ์มีจำนวนน้อย  พระบางองค์
มีขนาดเล็กบ้าง  ใหญ่บ้าง  ฉะนั้นเรื่องราคาจึงแตกต่างกันไป  แต่เชื่อมั่นได้อย่างหนึ่งว่า  พุทธคุณของพระ
ทุกองค์นั้นเท่าเทียมกันเหมือนกันแน่ทุกองค์  คือ  เมตตา  แคล้วคลาด  และคงกระพันชาตรี




                                                                                                      นุ  เพชรรัตน์

 
© 2012