|
พระกรุวัดลาวทอง แตกกรุเมื่อราว ๆ กลางปี พ.ศ.๒๕๐๔ ที่ ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี วัดลาวทอง เดิมเป็นวัดร้างเก่า มีเพียงอุโบสถเก่าหักพัง เหลือเพียงโครงอิฐ และมีเจดีย์เก่า รกร้างอยู่
หลายองค์ สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นภายหลัง ประมาณสมัยอยุธยายุคปลาย พระกรุวัดลาวทอง แตกกรุ
เมื่อราว ๆ กลางปี พ.ศ.๒๕๐๔ ที่ ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี วัดลาวทองเดิมเป็นวัดร้างเก่า มีเพียง
อุโบสถเก่าหักพังเหลือเพียงโครงอิฐ และมีเจดีย์เก่ารกร้างอยู่หลายองค์ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นภายหลัง
ประมาณสมัยอยุธยายุคปลาย
พระกรุวัดลาวทองที่ขุดค้นพบนั้น มีทั้งพระบูชา เนื้อสัมฤทธิ์ และพระเครื่องประเภทเนื้อชินตะกั่ว
พบด้วยกันหลายพิมพ์ มีทั้งพิมพ์พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พิมพ์ซุ้มนครโกษา และพิมพ์นากปรก ซึ่งพระ
ทุกองค์ เป็นพระศิลปะสมัยลพบุรีบริสุทธิ์ทั้งสิ้น อายุการสร้าง น่าจะอยู่ประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปี เนื้อพระ
ส่วนใหญ่มีสนิมจัดมาก สนิมจะมีสีออกแดงลูกหว้า ผิวนอกสีน้ำเงิน บางองค์แดงจัด ๆ เลยก็มี
พระกรุวัดลาวทอง นอกจากจะมีสนิมแดงปกคลุมผิวพระแล้ว ผิวชั้นนอกยังปกคลุมด้วยสนิมไขขาว
อีกชั้น และเม็ดทรายในกรุเกาะติดอีกชั้นหนึ่งด้วย ทำให้ดูเป็นธรรมชาติ มีเสน่ห์งดงามมาก
ครั้งนี้มาพูดถึงพระนาคปรก กรุวัดลาวทอง เพียงอย่างเดียวกันก่อน ซึ่งพระพิมพ์นาคปรก พุทธศาสนา
เราถือว่า เป็นพระประจำวันเสาร์ด้วย พระนาคปรก กรุวัดลาวทองนี้ ยังถือได้ว่า เป็นพระพิมพ์นาคปรก
ที่งดงามที่สุด ในประเภทพระกรุพิมพ์นาคปรก ซึ่งยังเป็นกรุที่ขุดพบพระพิมพ์นาคปรก มากกว่ากรุอื่น ๆ
ที่ขุดได้ในจังหวัดสุพรรณบุรี คือ มีถึง ๔ แบบพิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ปรกแบน พิมพ์ปรกชีโบ พิมพ์ปรกผมเม็ด
และพิมพ์ปรกเล็ก
พระนาคปรกพิมพ์ปรกแบน แบ่งพิมพ์ได้ ๒ แบบ คือ แบบฐาน ๒ ชั้น และฐาน ๓ ชั้น พุทธลักษณะ
ของพระพิมพ์ปรกแบน เป็นพระพิมพ์นาคปรก ๗ เศียร กางแผ่กว้าง แบบแบน สมกับชื่อที่เรียกว่าปรกแบน
ลำแขนล่ำสัน กำไลแขนทั้ง ๒ ข้างปรากฏชัดเจน วัดความกว้างช่วงปรกวัดได้ประมาณ ๒ ซม. และความสูง
ประมาณ ๔ ซม.
พระนาคปรกพิมพ์ปรกแบนนี้ เป็นพระที่พบน้อยมากน้อยกว่าพิมพ์นาคปรกพิมพ์อื่น ๆ ในกรุเดียวกัน
ซึ่งปัจจุบัน ได้รับความนิยมสูงสุดด้วย พระนาคปรกพิมพ์ปรกแบนบางองค์ สนิมแดงจัดมาก บางองค์ก็มี
สนิมสีน้ำเงิน และบางองค์เนื้อพระแก่ชิน ไม่ค่อยแดงเลยก็มี แต่ถึงจะมีสนิมเกาะติดมากน้อยแค่ไหน ทุกองค์
จะต้องถูกสนิมไขขาวปกคลุมอยู่ทั่วองค์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังและมีเม็ดทรายในกรุเกาะติดตามองค์พระ
อยู่ด้วยเช่นกัน
พระนาคปรก กรุวัดลาวทอง พิมพ์ชีโบ พุทธลักษณะและศิลปะ เป็นแบบลพบุรีบริสุทธิ์ เป็นพระ
นาคปรก ๗ เศียร เช่นเดียวกันกับพิมพ์ปรกแบน เพียงแต่ต่างกันที่นาคปรกของพิมพ์ชีโบนั้น ปรกจะห่อ
เล็กน้อย และชะลูดยืดสูง นาคปรกตัวกลางจะใหญ่กว่าตัวอื่น ๆ มาก ปรกชะโงกขึ้นออกมา เลยองค์พระ
คล้ายกับหมวกชีโบในสมัยก่อน ที่พอใส่แล้ว ปีกหมวกจะยื่นบังหน้า องค์พระจะนั่งปางสมาธิขัดราบ ล่ำต้อ
หน้าตาดูเคร่งขรึมเล็กน้อย องค์พระสนิมแดง และสนิมไขขาวค่อนข้างจัดจ้านมาก ด้านหลังเป็นลายผ้า
แอ่งร่องลึกทุกองค์ และจะปรากฏเม็ดทรายผสมดินกรุ ปะปนกับคราบไขขาว เกาะคลุมผิวชั้นนอกติดแน่น
ลักษณะแข็งแกะหรือแคะออกได้ยากมาก ความกว้างขององค์พระประมาณ ๑.๕ ซม. และสูงประมาณ ๔ ซม.
พระนาคปรกพิมพ์ชีโบนั้น สันนิษฐานว่า คงจะแตกจากกรุไม่ค่อยมากเท่าไหร่ และหาชมองค์ที่สวย
สมบูรณ์จริง ๆ นั้นก็ยากพอควร ส่วนใหญ่ที่พบเจอนั้นจะเทปรกไม่ค่อยเต็ม บางองค์เทไม่ติดปรกเลยก็มี
ด้านราคาค่างวด ถือว่าเป็นพระพิมพ์ยอดนิยมเช่นกันและซื้อง่ายขายคล่อง แถมหายากอีกต่างหาก
ราคาก็ไม่ต้องกลัว องค์สวย ๆ สมบูรณ์นั้นราคาเกินแสนมานานแล้ว
พระนาคปรก กรุวัดลาวทอง พิมพ์ผมเม็ดก็เช่นกันกับพิมพ์ปรกแบน และพิมพ์ชีโบ ศิลปะก็เป็นแบบ
ลพบุรีบริสุทธิ์ พุทธลักษณะก็เป็นแบบนั่งสมาธิขัดราบ ปรกเป็นนาค ๗ เศียรเหมือนกัน แต่พิมพ์นาคปรก
ผมเม็ดนั้น ก็มีหลายจุดที่ต่างจากพิมพ์ปรกแบน และพิมพ์ชีโบ ซึ่งเห็นได้ชัดเจน คือ พิมพ์ปรกผมเม็ดนั้น
นาคปรกจะมีลักษณะห่อเข้าหากัน ไม่บานออก เศียรพระค่อนข้างโต พระศกเป็นเม็ดคมลึก สังฆาฏิชัดลึก
มือที่ซ้อนสมาธิกัน ดูด้วยตาเปล่าก็ชัดเจน และเกือบทุกองค์ จะเห็นลายสลับที่ตัวพญานาคชัดเจน เท่าที่พบ
พระพิมพ์นาคปรกผมเม็ด สนิมที่เกาะองค์พระ จัดจ้านทุกองค์ ไม่ว่าสนิมที่เกาะคลุมอยู่จะมีสีแดง สีน้ำเงิน
หรือสนิมไขขาวก็ตาม สนิมจะแข็ง สดใสงดงามมาก ส่วนด้านหลังองค์พระ ก็จะเป็นลายผ้าร่องเว้าลึก
เช่นเดียวกันกับ พิมพ์ปรกชีโบ ซึ่งมีขี้กรุ เม็ดทรายปนดินกรุ ผสมประสานกับคราบไคลไขขาวเกาะคลุม
ติดแน่น ดูมีเสน่ห์ เป็นธรรมชาติมาก ด้านราคาค่านิยม พระนาคปรกพิมพ์ผมเม็ดนั้นได้รับความนิยมไม่ต่าง
จากพิมพ์ชีโบเลย คือ อยู่ในหลักหมื่นถึงแสนต้น ๆ ในองค์ที่สวยสมบูรณ์ พระนาคปรกพิมพ์ผมเม็ด วัด
ความกว้างได้ประมาณ ๒ ซม. และสูงประมาณ ๔ ซม.
พระนาคปรก กรุวัดลาวทอง พิมพ์ปรกเล็ก เป็นพระนาคปรกเพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น ที่มีขนาด
เล็กที่สุดในกรุนี้ ซึ่งมีขนาดความกว้างประมาณ ๑.๒ ซม. และสูง ๒ ซม. เท่านั้น พระนาคปรกลาวทอง
พิมพ์เล็ก เป็นพระที่มีศิลปะลพบุรี เฉกเช่นเดียวกับพิมพ์ปรกแบน พิมพ์ชีโบ และพิมพ์ผมเม็ด ด้านพุทธ
ลักษณะต่างจาก ๓ องค์แรก ก็มีบ้างบางส่วน เช่น องค์พระมีขนาดเล็กกว่าเท่าตัวและมีปรกเพียง ๕ เศียร
เท่านั้น ส่วนเนื้อหาสาระสนิมเนื้อพระไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากทั้ง ๓ องค์ข้างต้นเลย คือ สนิมไขขาว
จัดมาก บางองค์ไขขาวและแร่กรวดทรายปกคลุมทั่วองค์จนมองไม่เห็นองค์พระเลยก็มี
นุ เพชรรัตน์
|
|
|